วันพฤหัสบดีที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑

ข้อมูลดีๆ ข้อมูลตรงๆ หาง่ายนิดเดียว

ข้อมูลดีๆ ข้อมูลตรงๆ หาง่ายนิดเดียว

วิกิพีเดีย... ภาษาไทย
(http://th.wikipedia.org)

เอาไว้หาข้อมูลได้สารพัด


อาทิ....


ระบบสารสนเทศ (Information System หรือ IS)

เป็นระบบพื้นฐานของการทำงานต่างๆ ในรูปแบบของการเก็บ (input) การจัดการ (processing) เผยแพร่ (output) และมีส่วนเก็บข้อมูล (storage)

ระบบสารสนเทศเป็นการรวมกลุ่มของฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์, มนุษย์, กระบวนการ, ฐานข้อมูล และอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศให้องค์กรบรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

ระบบสารสนเทศนั้นจะประกอบด้วย

  1. ข้อมูล (Data)
    หมายถึง ค่าของความจริงที่ปรากฏขึ้น โดยค่าความจริงที่ได้จะนำมาจัดการปรับแต่งหรือประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ
  2. สารสนเทศ (Information)
    คือ กลุ่มของข้อมูลที่ถูกตามกฎเกณฑ์ตามหลักความสัมพันธ์ เพื่อให้ข้อมูลเหล่านั้นมีประโยชน์และมีความหมายมากขึ้น
  3. การจัดการ (Management) คือ การบริหารอย่างเป็นระบบ เป็นการกำหนดเป้าหมายและทิศทางการจัดการขององค์กรนั้น ซึ่งต้องมีการวางแผน กำหนดการ และจัดการทรัพยากรภายในองค์กร เพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ขององค์กรนั้นๆ
--------
ข้อมูล
(data) หรือ ข้อมูลดิบ

หมายถึง ข้อเท็จจริง หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น อาจจะเป็นตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ก็ได้. ข้อมูลที่ดีจะต้องมีความถูกต้องแม่นยำ และเป็นปัจจุบัน เช่น ปริมาณ ระยะทาง ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ คะแนนของนักเรียน รายงาน บันทึก ฯลฯ

ระบบ การจัดการความรู้ ทั้งหมดได้แก่

ข้อมูลเหล่าที่ผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว เราจะเรียกว่า สารสนเทศ (information)

  • ข้อมูล -> (กระบวนการประมวลผล) -> สารสนเทศ

ข้อแตกต่างระหว่างข้อมูลและสารสนเทศ

ข้อมูลแตกต่างจากสารสนเทศคือ ข้อมูลเป็น ส่วนของข้อเท็จจริง โดยได้จากการเก็บมาจากเหตุการณ์ต่างๆ สารสนเทศคือข้อมูลที่นำมาผ่านกระบวนการเพื่อสามารถนำไปใช้ ในการตัดสินใจต่อไปได้ทันทีหรือการนำข้อมูลมาประมวลผลเพื่อการนำไปใช้งาน ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ตัวอย่างข้อแตกต่างระหว่างข้อมูลและสารสนเทศ

  • ข้อมูล: นิสิตในมหาวิทยาลัยนเรศวรมีจำนวน 36,000 คน อาจารย์มีจำนวน 350 คน
  • สารสนเทศ: อัตรานิสิตต่ออาจารย์ของมหาวิทยาลัยนเรศวร = 36,000/350 = 102.86
--------

สารสนเทศ (information)

เป็นผลลัพธ์ของกระบวนการและการจัดการข้อมูลโดยการรวมความรู้เข้าไปต่อผู้รับสารสนเทศนั้น สารสนเทศมีความหมายหรือแนวคิดที่กว้าง และหลากหลาย ตั้งแต่การใช้คำว่าสารสนเทศในชีวิตประจำวัน จนถึงความหมายเชิงเทคนิค ตามปกติในภาษาพูด แนวคิดของสารสนเทศใกล้เคียงกับความหมายของการสื่อสาร เงื่อนไข การควบคุม ข้อมูล รูปแบบ คำสั่งปฏิบัติการ ความรู้ ความหมายสื่อความคิด การรับรู้ และการแทนความหมาย

ปัจจุบันผู้คนพูดเกี่ยวกับยุคสารสนเทศว่าเป็นยุคที่นำไปสู่ยุคแห่งองค์ความรู้หรือปัญญา นำไปสู่สังคมอุดมปัญญา หรือสังคมแห่งสารสนเทศ และ เทคโนโลยีสารสนเทศ แม้ว่าเมื่อพูดถึงสารสนเทศ เป็นคำที่เกี่ยวข้องในศาสตร์สองสาขา คือ วิทยาการสารสนเทศ และ วิทยาการคอมพิวเตอร์ ซึ่งคำว่า "สารสนเทศ" ก็ถูกใช้บ่อยในความหมายที่หลากหลายและกว้างขวางออกไป และมีการนำไปใช้ในส่วนของ เทคโนโลยีสารสนเทศ และ การประมวลผลสารสนเทศ

สิ่งที่ได้จากการนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้มาประมวลผล เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามจุดประสงค์ สารสนเทศ จึงหมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการเลือกสรรให้เหมาะสมกับการใช้งานให้ทันเวลา และอยู่ในรูปที่ใช้ได้ สารสนเทศที่ดีต้องมาจากข้อมูลที่ดี การจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศจะต้องมีการควบคุมดูแลเป็นอย่างดี เช่น อาจจะมีการกำหนดให้ผู้ใดบ้างเป็นผู้มีสิทธิ์ใช้ข้อมูลได้ ข้อมูลที่เป็นความลับจะต้องมีระบบขั้นตอนการควบคุม กำหนดสิทธิ์ในการแก้ไขหรือการกระทำกับข้อมูลว่าจะกระทำได้โดยใครบ้าง นอกจากนี้ข้อมูลที่เก็บไว้แล้วต้องไม่เกิดการสูญหายหรือถูกทำลายโดยไม่ได้ตั้งใจ การจัดเก็บข้อมูลที่ดี จะต้องมีการกำหนดรูปแบบของข้อมูลให้มีลักษณะง่ายต่อการจัดเก็บ และมีรูปแบบเดียวกัน ข้อมูลแต่ละชุดควรมีความหมายและมีความเป็นอิสระในตัวเอง นอกจากนี้ไม่ควรมีการเก็บข้อมูลซ้ำซ้อนเพราะจะเป็นการสิ้นเปลืองเนื้อที่เก็บข้อมูล

สารสนเทศในความหมายของข้อความ

สารสนเทศสามารถหมายถึงคุณภาพของข้อความจากผู้ส่งไปหาผู้รับ สารสนเทศจะประกอบไปด้วย ขนาดและเหตุการณ์ของสารสนเทศนั้น สารสนเทศสามารถแทนข้อมูลที่มีความถูกต้องและความแม่นยำหรือไม่มีก็ได้ ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งข้อเท็จจริงหรือข้อโกหกหรือเป็นเพียงเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้น สารสนเทศจะเกิดขึ้นเมื่อมีผู้ส่งข้อความและผู้รับข้อความอย่างน้อยฝ่ายละหนึ่งคนซึ่งทำให้เกิดการสื่อสารของข้อความและเข้าใจในข้อความเกิดขึ้น ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับ ความหมาย ความรู้ คำสั่ง การสื่อสาร การแสดงออก และการกระตุ้นภายใน การส่งข้อความที่มีลักษณะเป็นสารสนเทศ ในขณะเดียวกันการบกวนการสื่อสารสารสนเทศก็ถือเป็นสารสนเทศเช่นเดียวกัน

ถึงแม้ว่าคำว่า "สารสนเทศ" และ "ข้อมูล" มีการใช้สลับกันอยู่บ้าง แต่สองคำนี้มีข้อแตกต่างที่เด่นชัดคือ ข้อมูลเป็นกลุ่มของข้อความที่ไม่ได้จัดการรูปแบบ และไม่สามารถนำมาใช้งานได้จนกว่าจะมีการจัดระเบียบและดึงออกมาใช้ในรูปแบบสารสนเทศ

--------

บิต (bit)

เป็นหน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุด ใช้ระบบคอมพิวเตอร์แบบดิจิทัล และทฤษฎีข้อมูล

ข้อมูลหนึ่งบิต มีสถานะที่เป็นไปได้ 2 สถานะ คือ

  • 0 (ปิด)
  • 1 (เปิด)

เคลาด์ อี แชนนอน (Claude E. Shannon) เริ่มใช้คำว่า บิต ในงานเขียนของเขาในปี พ.ศ. 2491 โดยย่อจากคำเต็มคือ binary digit (หรือ binary unit) แชนนอนได้กล่าวถึงที่มาของคำนี้ว่ามาจาก จอห์น ดับบลิว ทูคีย์ (John W. Tukey)

ไบต์ (byte)

เป็นกลุ่มของบิต ซึ่งเดิมมีได้หลายขนาด แต่ปัจจุบัน มักเท่ากับ 8 บิต ไบต์ขนาด 8 บิต มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า ออกเท็ต (octet) สามารถเก็บค่าได้ 256 ค่า (28 ค่า, 0 ถึง 255) ส่วนปริมาณ 4 บิต เรียกว่านิบเบิล (nibble) สามารถแทนค่าได้ 16 ค่า (24 ค่า, 0 ถึง 15)

เวิร์ด (word) เป็นคำที่ใช้เรียกจำนวนบิตที่มากขึ้น แต่ก็ไม่มีขนาดเป็นมาตรฐานตายตัว บนเครื่องคอมพิวเตอร์สถาปัตยกรรม IA-32 จำนวน 16 บิตจะเรียกว่าเวิร์ด ในขณะที่ 32 บิตเรียกว่า ดับเบิลเวิร์ด (double word) หรือ dword ในขณะที่สถาปัตยกรรมอื่น ๆ หนึ่งเวิร์ดมีค่าเท่ากับ 32 บิต, 64 บิต หรือค่าอื่น ๆ

ในระบบโทรคมนาคม หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ความเร็วในการส่งนิยมใช้หน่วยในรูปของ บิตต่อวินาที (bps - bits per second)

บิตเป็นหน่วยวัดข้อมูลเล็กที่สุดที่ใช้กันทั่วไป แต่ในขณะนี้มีการวิจัยกันในเรื่องการคำนวณทางควอนตัมคิวบิต (qubit) (quantum bit) (quantum computing) ซึ่งใช้หน่วยวัดข้อมูลเป็น

  • 1 กิโลบิต(Kb) = 1000 บิต หรือ 1024 บิต
  • 1 เมกะบิต(Mb) = 1000 กิโลบิต หรือ 1024 กิโลบิต
  • 1 จิกะบิต(Gb) = 1000 เมกะบิต หรือ 1024 เมกะบิต
  • 1 เทราบิต(Tb) = 1000 จิกะบิต หรือ 1024 จิกะบิต
--------

ไบต์ (byte)

หมายถึง เนื้อที่ที่คอมพิวเตอร์จัดไว้สำหรับเก็บข้อมูล 1 ตัวอักษรตามรหัสแอสกี (เช่น A, B, C, ก, ข, ค, ง ฯลฯ) หรือจำนวนเต็ม 1 จำนวน (-128 ถึง 127 เมื่อคิดเครื่องหมาย หรือ 0 ถึง 255 เมื่อไม่คิดเครื่องหมาย) โดยปกติแล้ว 1 ไบต์จะประกอบด้วยข้อมูลเลขฐานสองจำนวน 8 บิต และใช้เป็นหน่วยวัดขนาดของหน่วยความจำหรือสื่อบันทึกข้อมูลว่า สามารถเก็บข้อมูลได้กี่ตัวอักษร

ในวิทยาการคอมพิวเตอร์ หน่วยวัดที่ใช้กันนั้น นิยมวัดเป็นกิโลไบต์ (Kilobyte) เมกะไบต์ (Megabyte) จิกะไบต์ (Gigabyte) และเทระไบต์ (Terabyte) ซึ่งแต่ละหน่วยวัดมีค่าตัวคูณต่างกัน 1,024 หรือ 210 หน่วย แต่มนุษย์จะประมาณค่าตัวคูณไว้ที่ 1,000 หน่วยเพื่อความสะดวกในการคำนวณ หน่วยวัดแต่ละหน่วยสามารถสรุปได้ดังนี้

  • 1 กิโลไบต์ = 1,024 ไบต์
  • 1 เมกะไบต์ = 1,048,576 ไบต์ หรือ 1,024 กิโลไบต์
  • 1 จิกะไบต์ = 1,073,741,824 ไบต์ หรือ 1,024 เมกะไบต์
  • 1 เทระไบต์ = 1,099,511,627,776 ไบต์ หรือ 1,024 จิกะไบต์

นอกจากนี้ยังมี เพตะไบต์ (Petabyte) เอกซะไบต์ (Exabyte) เซตตะไบต์ (Zettabyte) และยอตตะไบต์ (Yottabyte) ซึ่งมีค่าตัวคูณ 1,024 หน่วยถัดจากเทระไบต์เป็นต้นไป แต่ยังไม่มีสื่อบันทึกข้อมูลใดสามารถเก็บข้อมูลได้มากขนาดนั้นในปัจจุบัน

ปัจจุบันนี้ เพื่อลดความสับสนระหว่างค่าตัวคูณ 1,024 (210) หน่วยและ 1,000 (103) หน่วย ทาง SI จึงได้มีหน่วยสำหรับฐาน 2 แยกออกมา เช่นจากกิโล

การเปรียบเทียบ

ขนาดความจุโดยประมาณ
1 ไบต์อักษรหนึ่งตัว
10 ไบต์หนึ่งหรือสองคำ
100 ไบต์หนึ่งหรือสองประโยค
1 กิโลไบต์หนึ่งย่อหน้าสั้นๆ
10 กิโลไบต์สารานุกรมหนึ่งหน้า
100 กิโลไบต์รูปถ่ายคุณภาพระดับกลาง
1 เมกะไบต์เรื่องสั้นหนึ่งเรื่อง
10 เมกะไบต์วรรณกรรมของเชกสเปียร์สองเล่ม
100 เมกะไบต์หนังสือที่วางเรียงซ้อนกันยาวหนึ่งเมตร
1 จิกะไบต์หน้ากระดาษที่บรรจุเต็มรถบรรทุก

--------

OSI Model หรือ OSI Reference Model

หรือชื่อเต็มว่า Open Systems Interconnection Basic Reference Model เป็นมาตรฐานการอธิบายการติดต่อสื่อสารและโปรโตคอลของระบบคอมพิวเตอร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยองค์กรที่ชื่อว่า International Organization for Standardization (ISO)

โมเดลนี้ได้ถูกแบ่งย่อยออกเป็น 7 ชั้นอันได้แก่ Application, Presentation, Session, Transportation, Network, Data Link และ Physical ตามลำดับจากบนลงล่าง เหตุผลที่โมเดลนี้ถูกแบ่งออกเป็น 7 ชั้นก็เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจว่าแต่ละชั้นนั้นมีความสำคัญอย่างไร และสัมพันธ์กันอย่างไรระหว่างชั้น ซึ่งโดยหลักๆแล้วแต่ละชั้นจะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับชั้นที่อยู่ติดกันกับชั้นนั้นๆ

  • Presentation Layer
    ชั้นที่หกเป็นชั้นที่รับผิดชอบเรื่องรูปแบบของการแสดงผลเพื่อโปรแกรมต่างๆที่ใช้งานระบบเครือข่าย
  • Session Layer
    ชั้นที่ห้านี้ทำหน้าที่ในการจัดการกับเซสชั่นของโปรแกรม ชั้นนี้เองที่ทำให้ในหนึ่งโปรแกรมยกตัวอย่างเช่น
    โปรแกรมค้นดูเว็บ(Web browser)สามารถทำงานติดต่ออินเทอร์เน็ตได้พร้อมๆกันหลายหน้าต่าง
  • Transport Layer
    ชั้นนี้ทำหน้าที่ดูแลจัดการเรื่องของความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการสื่อสาร ซึ่งการตรวจสอบความผิดพลาดนั้นจะพิจารณาจากข้อมูลส่วนที่เรียกว่า
    checksum และอาจมีการแก้ไขข้อผิดพลาดนั้นๆ โดยพิจารณาจาก ฝั่งต้นทางกับฝั่งปลายทาง (End-to-end)โดยหลักๆแล้วชั้นนี้จะอาศัยการพิจารณาจาก พอร์ต (Port)ของเครื่องต้นทางและปลายทาง
  • Network Layer
    ชั้นที่สามจะจัดการการติดต่อสื่อสารข้ามเน็ตเวิร์ค ซึ่งจะเป็นการทำงานติดต่อข้ามเตเวิร์คแทนชั้นอื่นๆที่อยู่ข้างบน
  • Data Link Layer
    ชั้นนี้จัดเตรียมข้อมูลที่จะส่งผ่านไปบนสื่อตัวกลาง
  • Physical Layer
    ชั้นสุดท้ายเป็นชั้นของสื่อที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ซึ่งอาจจะเป็นทั้งแบบที่ใช้สายหรือไม่ใช้สาย ตัวอย่างของสื่อที่ใช้ได้แก่
    Shield Twisted Pair(STP), Unshield Twisted Pair(UTP), Fibre Optic และอื่นๆ
--------

โครงสร้างแบบ ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP model)

ป็นมาตรฐานที่ทำให้คอมพิวเตอร์ภายในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สามารถเชื่อมต่อเข้าหากัน และติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ เป็นมาตรฐานที่ว่าด้วยการกำหนดวิธีการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ โดยใช้แนวคิดของการแบ่งลำดับชั้นโปรโตโคล

ลำดับชั้นของโปรโตคอลในระบบอินเทอร์เน็ต

ลำดับชั้นของโปรโตคอลในระบบอินเทอร์เน็ต มีำลำดับชั้นที่น้อยกว่าโครงสร้างลำดับชั้นของโอเอสไอ โดยในโอเอสไอมีลำดับชั้นของโปรโตคอลทั้งหมด 7 ชั้น แต่ในระบบอินเทอร์เน็ตมีทั้งหมดเพียง 4 ชั้นเท่านั้น

4ชั้นการประยุกต์ใช้งาน
(application layer)
เช่น HTTP, FTP, DNS เป็นต้น
3ชั้นขนส่ง
(transport layer)
เช่น TCP, UDP, RTP เป็นต้น
2ชั้นอินเตอร์เนต
(Internet layer)
เช่น ไอพี
1ชั้นการเชื่อมต่อ
(Link layer)
เช่น Ethernet, Wi-Fi เป็นต้น

ชั้นการเชื่อมต่อ

ชั้นการเชื่อมต่อ หรือ Link layer สามารถเทียบได้กับชั้นที่ 1 และ 2 ในโครงสร้างแบบ โอเอสไอ เป็นลำดับชั้นที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับระบบอินเทอร์เน็ตโดยตรง แต่เป็นระบบพื้นฐานของการเชื่อมต่อที่ระบบอินเทอร์เน็ตใช้ส่งข้อมูลภายในเครือข่าย

หน้าที่ของชั้นนี้สำหรับการส่งข้อมูล เนื่องจากตัวแบบ ทีซีพี/ไอพี ไม่ได้กำหนดมาตรฐานในข้อตอนนี้อย่างมากนัก กำหนดไว้เพียงว่าให้สามารถส่งข้อมูลสู่เครือข่ายได้เท่านั้น ทำให้ไม่สามารถระบุเนื้อหาหน้าที่ที่ชัดเจนได้ ดังนั้นจึงอาจจะยกระบบของ โครงสร้างแบบ โอเอสไอทั้งสองชั้นแรกมาซึ่งได้แก่การจัดเตรียมข้อมูลเพื่อให้เหมาะสมก่อนที่จะส่งไปตามสายส่งไปยังที่หมายปลายทาง ซึ่งได้แก่การจัดเตรียมPacket Header การควบคุมระบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่จะใช้ในการจัดส่ง เช่น การเชื่อมต่อกับNetwork cardDevice Driver หน้าที่สำหรับการรับข้อมูลคือ คอยรับกรอบของข้อมูลที่ได้รับ นำข้อมูลส่วนหัวออกมา และจัดเตรียมข้อมูลเพื่อส่งต่อไปยังชั้นเครือข่าย และการใช้งาน

ชั้นอินเตอร์เนต

ชั้นอินเตอร์เนต หรือ Internet Layer เทียบได้กับชั้นที่ 3 ซึ่งคือ Network Layer ในโครงสร้างแบบ โอเอสไอ เป็นชั้นที่มีหน้าที่ส่งข้อมูลจากจุดเริ่มต้นไปยังปลายทาง โดยหาเส้นทางที่ข้อมูลจะใช้เดินทางผ่านเครือข่ายหนึ่งไปยังอีกเครือข่ายหนึ่งจนกระทั้งถึงปลายทาง

โปรโตคอลที่ใช้ในชั้นนี้คือ อินเทอร์เน็ตโปรโตคอล หรือ ไอพี ทำหน้าที่เปรียบเสมือนซองจดหมายซึ่งระบุถึงที่อยู่ของต้นทางและปลายทาง โดยมีบุรุษไปรษณีย์ทำหน้าที่ส่งจดหมายนั้นผ่านกรมการไปรษณีย์ในพื้นที่ต่าง ๆ จนถึงจุดหมายปลางทาง ที่อยู่บนซองจดหมายในอินเทอร์เน็ตโปรโตคอลเรียกว่า หมายเลขไอพี ที่ทำการไปรษณีย์คือเราเตอร์ที่ทำหน้าที่ค้นหาเส้นทางที่เหมาะสมเพื่อส่งข้อมูลไปตามสายส่งจนกระทั้งถึงปลายทาง

ชั้นขนส่ง

ชั้นขนส่ง หรือ Transport layer เทียบได้กับชั้นที่ 4 ในโครงสร้างแบบ โอเอสไอ เป็นชั้นที่มีหน้าที่ควบคุมการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์สองเครื่องที่ติดต่อกัน ซึ่งอาจแบ่งได้สองลักษณะคือ บริการการส่งข้อมูลแบบที่สถาปณาการเชื่อมต่อ และบริการการส่งข้อมูลแบบไม่สถาปณาการเชื่อมต่อ และจัดส่งข้อมูลไปยังapplicationที่ต้องการข้อมูล

โปรโตคอลที่นิยมใช้ในชั้นนี้ได้แก่ TCP, UDP, RTP

ชั้นการประยุกต์ใช้งาน

ชั้นการประยุกต์ใช้งาน หรือ Application layer เทียบได้กับชั้นที่ 5 ถึง 7 ในโครงสร้างแบบ โอเอสไอ จะครอบคลุมบริการที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัย การเข้ารหัส การเชื่อมต่อระหว่างโปรแกรมประยุกต์ และเป็นชั้นที่โปรแกรมประยุกต์ใช้งานโดยตรง โดยโปรโตคอลที่อยู่บนชั้นนี้จะถูกออกแบบให้เหมาะสำหรับประเภทของโปรแกรมประยุกต์เฉพาะทาง เช่น โปรแกรมอีเมลใช้โปรโตคอล SMTP สำหรับส่งอีเมล ใช้โปรโตคอล POP3 สำหรับรับและเรียกดูอีเมล, ส่วนโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ใช้โปรโตคอล HTTP สำหรับเรียกดูเว็บเพจ เป็นต้น

ขั้นตอนการรับส่งข้อมูลผ่านโครงสร้างแบบทีซีพี/ไอพี

โปรแกรมประยุกต์จะส่งผ่านข้อมูลซึ่งก็คือโปรโตคอลที่ตนใช้งานเช่น HTTP หรือ SMTP ผ่านไปยังลำดับชั้นต่างๆของ โครงสร้างแบบ TCP/IP เริ่มต้นที่ชั้นขนส่ง(Transport Layer) ซึ่งโปรแกรมประยุกต์จะต้องกำหนดหมายเลขท่า(Port Number)ของตนว่าจะใช้หมายเลขใด เพื่อให้ข้อมูลที่ใช้รับส่งสามารถส่งถึงโปรแกรมประยุกต์ที่เรียกใช้งานได้ถูกต้อง ที่ชั้นนี้ข้อมูลจะถูกแบ่งเป็นส่วนๆเรียกว่า Segment จากนั้นจะส่งผ่านไปยังชั้นเครือข่าย(Internetwork Layer) โดยในชั้นนี้จะมีหมายเลขไอพี(IP address) เป็นที่อยู่ของอุปกรณ์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานโปรแกรมประยุกต์อยู่ ข้อมูลจาก Segment จะถูกห่อหุ้มและส่งในรูปแบบของ Packet โดยที่ Packetต่างๆจะถูกกำหนดเส้นทางที่จะเริ่มต้นส่งออกไปยังระบบเครือข่าย ซึ่งข้อมูลนี้จะถูกกำหนดอยู่ในส่วนหัวของ Packet เรียกว่า Packet Header สุดท้ายข้อมูลจะถูกส่งไปชั้นสุดท้ายคือชั้นการเชื่อมต่อ ซึ่งหมายถึงการเชื่อมต่อของคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ต่างๆภายในเครือข่าย โดยแต่ละจุดเชื่อมต่อจะเรียกว่าโหนด(node) ข้อมูลจะถูกส่งไปยังโหนดต่างๆที่มีการเชื่อมต่อจากโหนดเริ่มต้นไปยังโหนดต่อไปและต่อไปเรื่อยๆจนกระทั้งถึงโหนดปลายทาง

--------
อ. พีระพล ยุวภูษิตานนท์
ภาควิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร)
ที่มา
http://www.ee.mut.ac.th/home/peerapol/dsp_3rd.htm

ผมได้มาจา่กการ search ใน google อย่างนี้ -
http://www.google.co.th/search?hl=th&rls=GFRC%2CGFRC%3A2007-16%2CGFRC%3Aen&q=c+%3D+b+log2+%281%2Bsnr%29&btnG=%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%B2&meta=lr%3Dlang_th
..... แชนนอน (C.E.Shannon) ซึ่งเป็นผู้วางรากฐานทางทฤษฎีให้แก่ระบบการสื่อสารดิจิตอล ได้กล่าวว่า อัตราส่งข้อมูลสูงสุด (Maximum data rate) ของช่องการสื่อสาร (channel) หนึ่ง จะขึ้นอยู่กับแบนด์วิทและ SNR และ ทฤษฎีบทที่กล่าวถึงความสัมพันธ์นี้มีชื่อเรียกว่าทฤษฎีบทฮาร์ทเลย์-แชนนอน (Hartley-Shannon Theorem) โดยอัตราส่งข้อมูลสูงสุด จะมีชื่อเรียกอย่างหนึ่งว่าเป็นความจุของการสื่อสารข้อมูล (capacity) จะหาได้จาก

C = B*log2(1+SNR) (bits/sec)

โดยที่ B นั้นคือ แบนด์วิท ของ ช่องการสื่อสาร สังเกตว่า หาก แบนด์วิทของช่องการสื่อสารมีค่าคงที่ ความจุข้อมูลสูงสุดนั้นขึ้นอยู่กับระดับสัญญาณรบกวนเป็นสำคัญ ตัวอย่าง หากช่องการสื่อสารหนึ่งมีแบนด์วิท B และ SNR ตามที่แสดงในตารางที่ 1 คือ 3000 Hz และ SNR = 36 dB ตามลำดับ เราจะได้ค่าความจุของช่องการสื่อสารนี้ เป็น C = 3000*log2(1+ 10(36/10)) = 35.8 กิโลบิทต่อวินาที แต่หาก SNR เพิ่มเป็น 50 dB จะได้ อัตราส่งข้อมูลสูงสุดถึงประมาณ 50 กิโลบิทต่อวินาที........

--------
ดิจิตอลออดิโอ Digital Audio
โดย ดร. ธีรเกียรติ์ เกิดเจริญ

(http://nanotech.sc.mahidol.ac.th/comlab/audio/index.html)

ดิจิตอลกับอนาล็อก

  • ลองนึกถึงว่าถ้าเราจับคนสองคนมายืนห่างกันสัก 1 เมตร แล้วให้เขาสื่อสารกันด้วยมือ โดยกำหนดให้ชูนิ้วโป้ง หมายถึง "ระวัง" นิ้วชี้หมายถึง "กระทืบเท้า" และอื่นๆ จากนั้นลองขยับให้เขายืนห่างจากกันไกลมากขึ้นเป็น 2 เมตร 3 เมตร จนถึง 10 เมตร การสื่อสารของคนทั้งสองก็จะเริ่มมีปัญหา
  • คราวนี้ลองให้เขาใช้รูปแบบแค่สองอย่างคือ กำมือ กับ แบมือ เพื่อแทนความหมาย แต่ให้ใช้จำนวนของการกำมือและแบมือ แทนความหมายต่างๆ เราจะพบว่าระยะทางที่ใช้ ในการสื่อสาร กับมีระยะไกลขึ้น อาจถึง 50 เมตรสำหรับคนสายตาปรกติ ตัวอย่างแรกนั้นเราอาจแทนการสื่อสารแบบอนาล็อก ที่สัญญาณที่ใช้ นั้นเป็นสัญญาณดิบ ซึ่งนิ้วแต่ละนิ้วเป็นตัวแทนของสัญญาณโดยตรง ไม่ต้องใช้เวลาในการแปลความหมายอีก ตัวอย่างที่สอง นั้นเราอาจเปรียบเช่นการสื่อสารแบบดิจิตอล คือผู้ส่ง (encoder) จะต้องนำความหมายที่จะส่งมาทำให้อยู่ในรูป on/off ผู้รับ (decoder) ก็จะต้องนำสัญญาณมาแปลค่า ก่อนใช้งาน ดังนั้นการสื่อสารแบบดิจิตอล จึงมี ค่าเสียเวลา ซึ่งทำให้การสื่อสารแบบนี้ มักจะเกี่ยวข้องโดยตรงกับคอมพิวเตอร์ แต่ข้อดีในการรักษาความถูกต้องของสัญญาณ อันเนื่องมาจาก การที่ระบบดิจิตอลใช้ extreme value ของสัญญาณมาแทนค่านั่นเอง

--------
ข้อมูล และขนาดของข้อมูล
(http://kromchol.rid.go.th/survey/training2549/training_paper/computer_maintenance1.htm

“ข้อมูล”
ในทางคอมพิวเตอร์หมายถึง สิ่งต่างๆที่ถูกจัดเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์หรือสื่อบันทึกข้อมูลต่างๆ โดยจัดเก็บไว้อยู่ในรูปแบบของ ข้อมูลภาพ ข้อมูลเสียง ข้อมูลตัวเลขหรือตัวอักษรและอื่นๆ ความจุ หรือขนาดของข้อมูล

หน่วยที่ใช้ในการวัดขนาดของข้อมูล มีดังนี้

  • บิต(Bit)
    เป็นหน่วยวัดที่ใช้ในการบอกขนาดของข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด โดยแต่ละบิตถูกแสดงด้วยตัวเลขไบนารี่ 0 หรือ 1 บ่งบอกถึงสถานะทำงาน
  • ไบต์(Byte)
    เป็นหน่วยวัดพื้นฐานที่สำคัญสำหรับใช้ในการบอกขนาดของข้อมูลหรือไฟล์ที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป โดย 1 ไบต์จะมี 8 บิต ซึ่งสามารถใช้แทนตัวอักษรใดๆ
  • 1 ตัวกิโลไบต์ (Kilobyte ตัวย่อคือ KB)
    มีค่าเท่ากับ 1,024 ไบต์ ซึ่งเทียบเท่าตัวอักษรประมาณ 1,000 ตัว หรือประมาณ 1 หน้ากระดาษ
  • เมกกะไบต์ (Megabyte ตัวย่อคือ MB)
    มีค่าเท่ากับ 1,048,576 ไบต์ หรือประมาณ 1 ล้านไบต์ หรือเทียบเท่าตัวอักษรประมาณ 1 ล้านตัว หรือประมาณ หนังสือ 1 เล่ม
  • กิกะไบต์ (Gigabyte ตัวย่อคือ GB)
    เป็นหน่วยวัดที่มักใช้บอกความจุของอุปกรณ์จำพวก ฮาร์ดดิสก์, แผ่นดีวีดี และอื่นๆ โดยจะมีค่าเท่ากับ 1,073,741,824 ไบต์ หรือประมาณ 1 พันล้านไบต์ หรือประมาณ หนังสือที่ถูกเก็บบรรจุอยู่ในตู้หนังสือจำนวน 1 ตู้
  • เทอราไบต์ (Terabyte ตัวย่อคือ TB)
    เป็นหน่วยวัดที่มีขนาดใหญ่มาก ซึ่งปัจจุบันมีอุปกรณ์เพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้นที่มีความจุมากถึงระดับนี้ แต่ด้วยปริมาณความต้องการข้อมูลที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆจึงมีแนวโน้มว่าอีกไม่นานความจุระดับนี้จะเริ่มมีให้เห็นแพร่หลายมากขึ้น ซึ่งเทอราไบต์มีค่าเท่ากับ 1,099,511,627,776
    ไบต์ หรือประมาณ 1 ล้านล้านไบต์ ซึ่งเทียบเท่าตัวอักษร 1 ล้านล้านตัวหรือประมาณหนังสือทั้งหมดที่บรรจุอยู่ในห้องสมุด 1 ห้อง
--------
ลิ้งค์ดีๆ

  • การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย ของ ม.สยาม >>
  • การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย ของ อ.กฤษณะ มีสุข แผนกวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ วท.เชียงใหม่ >>
--------

ดีไหมครับ?

0 Comments: